นายเชิดชาย ลาชี

นายกอบต. เทอดไทย เบอร์สายตรง 061-2176556
องค์การบริหารส่วนตำบล

เทอดไทย

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

วิสัยทัศน์การพัฒนา

"ตำบลเทอดไทยเมืองแห่งการท่องเที่ยว โดดเด่นด้วยชาติพันธุ์ การศึกษาเท่าเทียมเทคโนโลยีทั่วถึง ผลักดันสินค้าชุมชนสู่ตลาดโลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข"

วิสัยทัศน์/นโยบาย/พันธกิจ
เมื่อวันที่ 08 มี.ค. 2561 , เปิดอ่าน 2035 ครั้ง

ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย

1. วิสัยทัศน์การพัฒนา

          “ตำบลเทอดไทยเมืองแห่งการท่องเที่ยว โดดเด่นด้วยชาติพันธุ์การศึกษาเท่าเทียม เทคโนโลยีทั่วถึงผลักดันสินค้าชุมชนสู่ตลาดโลกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข”

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย (พ.ศ.2566-2570)  มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์และยั่งยืน
  6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร

3. เป้าประสงค์

1. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตทางการเกษตรในชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

2. โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้มาตรฐานและครอบคลุมทุกพื้นที่

3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กสตรีคนชราผู้ด้อยโอกาสและการสงเคราะห์ต่างๆเพื่อให้มี

   คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

5. มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพบุคลากรขององค์กรได้รับการพัฒนาและมีระบบ

   เทคโนโลยีที่ทันสมัยและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน

7. การจัดการศึกษาควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า 

    นำไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย

8. การทำให้ประชากรในพื้นที่ยึดการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

9. บุคลากรในหน่วยงาน และผู้นำชุมชนมีการศึกษา/อบรมด้านภาษา และด้านการประกอบอาชีพที่ได้

    มาตรฐานทัดเทียมกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน


4.ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการพัฒนา

1.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าผลผลิตการเกษตรคุณภาพ

2.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชน

3.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว มีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนรวมทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค

  และบริโภค

4.ระดับความสำเร็จในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของประชาชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

6.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้ / ต้นน้ำ

7.ระดับความสำเร็จของการจัดกิจกรรมในการสร้างความจงรักภักดี

8.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพบุคลากรขององค์กรได้รับการพัฒนาและ

  มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน

9. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการจัดการศึกษาควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละ

   ชนเผ่า นำไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย

5. พันธกิจ

1. สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

3. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาสังคม

4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

5. ส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่

6. การพัฒนาองค์กรและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

7. ส่งเสริมการศึกษาการท่องเที่ยวศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

8. ส่งเสริมการดำเนินงานตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียง

9.  ส่งเสริมการเปิดประตูสู่อาเซียน โดยสนับสนุนกิจกรรมการให้ความรู้ด้านภาษาของประเทศสมาชิกและ

     พัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้มีคุณภาพทัดเทียมกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน


6.กลยุทธ์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย

1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ

กลยุทธ์ 1.1 การพัฒนาระบบคมนาคมและทางระบายน้ำ สะพาน ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความ

      ต้องการของประชาชนรวมทั้งส่งเสริมให้ตำบลเทอดไทยเป็นเมืองน่าอยู่

กลยุทธ์ 1.2 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ในเขตตำบลเทอดไทย

2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 

กลยุทธ์ 2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการดำเนิน 

               ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ 2.2 การพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตร การปลูก

               พืชเศรษฐกิจการขยายพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่ขาดแคลน

กลยุทธ์ 2.3 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ไม่มีงานทำกลุ่ม

                ผู้สูงอายุและผู้พิการทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และหัตถกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 

                กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด

กลยุทธ์ 2.4  ส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรกรในพื้นที่ด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด

กลยุทธ์ 2.5 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นระบบและมีคุณภาพและจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามศักยภาพ

               ของพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายความร่วมมือกับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมและ

                  สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ เชิงเกษตร สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี

                  ท้องถิ่น

กลยุทธ์ 2.6 พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทุกภาคส่วนให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการให้บริการด้านภาษา

                  เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3..ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กลยุทธ์ 3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษา

                ตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน

กลยุทธ์ 3.2 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คำนึงถึงภูมิ

               ปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกายของชนเผ่า

กลยุทธ์ 3.3 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเปิด

                โอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

กลยุทธ์ 3.4 ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ระชาคมอาเซียน

4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

กลยุทธ์ 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การ

               รักษาพยาบาลการแพทย์ทางเลือก การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้มีคุณภาพครอบคลุมโดยการ

                มีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่ายและเชื่อมโยงในกลุ่มประเทศอาเซียน

กลยุทธ์ 4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลยุทธ์ 4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรี เยาวชน  ผู้สูงอายุ ผู้พิการและด้วยโอกาส

กลยุทธ์ 4.4 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้วยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี คงทนถาวร และมี

               สภาพแวดล้อมที่ดี

กลยุทธ์ 4.5 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ตลอดจนให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มี

                 คุณภาพในทุกๆด้าน

กลยุทธ์ 4.6 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตลอดจนการให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากดภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น

กลยุทธ์ 4.7 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ปัญหาอาชญากรรม

               และการค้ามนุษย์ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ 4.8 ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ การสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์และยั่งยืน

กลยุทธ์ 5.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชน มลพิษทางอากาศตลอดจน

                การรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

กลยุทธ์ 5.2 ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการดำเนินการอนุรักษ์การคุ้มครองดูแล 

               และบำรุงรักษาป่าไม้ น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสำเร็จอย่าง

              ยั่งยืนและตามแนวทางพระราชดำริ

กลยุทธ์ 5.3 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้าน

                 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดภาวะโลกร้อน

กลยุทธ์ 5.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำฝายต้นน้ำ เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริม

                ความสมบูรณ์ของป่า 

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร

กลยุทธ์ 6.1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น

กลยุทธ์ 6.2 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการ

               พัฒนาท้องถิ่น

กลยุทธ์ 6.3 เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนและท้องถิ่น บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

กลยุทธ์ 6.4 พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทยในด้านงานที่รับผิดชอบ 

                การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและประชาชนมีส่วนร่วมตลอดจนการ

               ป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชั่น ทั้งนี้เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนและการให้การ

               บริการที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ 6.5 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาระบบจัดหารายได้ของ

               องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย

กลยุทธ์ 6.6 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรักษาความปลอดภัย แก้ไข ปัญหาจราจรการ

               เกิดอุบัติเหตุการบริหารจัดการ

กลยุทธ์ 6.7 พัฒนา สนับสนุน ตลอดจนการบริหารภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

กลยุทธ์ 6.8 เสริมสร้างระบบด้านการประสานเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความ  

                       ร่วมมือและการบูรณาการร่วมกัน

การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

1. การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย

          เพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย เป็นการประเมินถึงโอกาสและภาวะคุกคามหรือข้อจำกัดเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นรวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของท้องถิ่นอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยใช้เทคนิคการ SWOT analysis เพื่อพิจารณาศักยภาพการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทยในภาพรวมดังนี้

จุดแข็ง (Strengths)

  1. มีพื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่สำคัญ อาทิ ชา ลิ้นจี่ ข้าวไร่ ข้าวโพด ขิง ฯลฯ 
  2. ที่ตั้งภูมิประเทศและภูมิภาคที่น่าอยู่ มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
  3. มีสถาบันการศึกษาที่สอนภาษาจีนครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถพูด อ่าน และเขียนภาษาจีนได้
  4. มีปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถใช้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่คนรุ่นหลัง และเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม เช่น การแต่งกาย การเต้นรำชนเผ่า การขับร้องเพลงของแต่ละชนเผ่า 
  5. มีประเพณี วัฒนธรรมชนเผ่าที่หลากหลายเพราะพื้นที่มีหลากหลายชนเผ่าเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น
  6. มีสินค้าหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าวิสาหกิจชุมชนที่มีคุณภาพและเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่มีศักยภาพและเป็นโอกาสในการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน

จุดอ่อน (Weakness)

  1. ทรัพยากรดินเริ่มเสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมี
  2. ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ขาดเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน รายได้เฉลี่ยต่อคนต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนระดับประเทศ ทำการเกษตรแบบขาดการบริหารจัดการด้านการผลิต
  3. แหล่งท่องเที่ยวไม่มีระบบฐานข้อมูลและระบบการจัดการที่ดีไม่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี 
  4. ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง และโรคติดต่อ ขาดความตระหนักต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพ
  5. ประชาชนขาดจิตสำนึกและมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน ทำให้สถิติอุบัติเหตุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
  6. ขาดการรองรับอาชีพเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  7. ทุกภาคส่วนขาดความเข้าใจในบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ป่าไม้
  8. มีแนวเขตเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน มาตรฐานควบคุมไม่ครอบคลุม ทำให้มีการแพร่ระบาดสารเสพติด(ยาบ้า เฮโรอีน ยาไอช์)
  9. ประชากรมีลูกมากทำให้เกิดปัญหาด้านค่าใช้จ่ายและสุขภาพ
  10. ประชาชนในพื้นที่ขาดความรู้ในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนและรถให้บริการเก็บขยะมีไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกัน
  11. สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ระยะทางระหว่างหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันการเดินทางคมนาคมไม่สะดวก

3.2 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง

โอกาส   (Opportunities)

  1. เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมชนเผ่าที่หลากหลายซึ่งแต่ละชนเผ่ามีเอกลักษณ์
  2. ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาจีนได้
  3. มีการสนับสนุนการปลูกชาน้ำมันจากโครงการพระราชดำริ ซึ่งสมเด็จพระเทพฯทรงเสด็จทุกปี
  4. เป็นพื้นที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร อาทิ ชา ขิง ข้าวโพด ลิ้นจี่ 
  5. รัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตำบล
  6. ประชาชนไม่ได้คุมกำเนิดจึงมีลูกมากทำให้มีแรงงานอยู่ในวัยทำงานมาก
  7. มีหน่วยงานทหารหลายหน่วยมาตั้งในพื้นที่เพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและช่วยส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น