นายเชิดชาย ลาชี

นายกอบต. เทอดไทย เบอร์สายตรง 061-2176556
องค์การบริหารส่วนตำบล

เทอดไทย

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

วิสัยทัศน์การพัฒนา

"ตำบลเทอดไทยเมืองแห่งการท่องเที่ยว โดดเด่นด้วยชาติพันธุ์ การศึกษาเท่าเทียมเทคโนโลยีทั่วถึง ผลักดันสินค้าชุมชนสู่ตลาดโลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข"

ข้อมูลวัฒธรรม/ประเพณี
เมื่อวันที่ 00 543 , เปิดอ่าน 17189 ครั้ง
ข้อมูลประเพณี
 

เทศกาลของชนเผ่าต่างๆ มีความน่าสนใจมากๆของแต่ละชนเผ่าหมุนเวียนกันไป มีการจัดงานเทศกาลตามช่วงฤดูกาลต่างๆ ของแต่ละชนเผ่าประกอบด้วย การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชนผ่าและประเพณีปีใหม่แต่ละชนเผ่า มีด้วยกันทั้งหมด 7 ชนเผ่า ประกอบด้วย
ชนเผ่าอาข่า
ชนเผ่าลาหู่
ชนเผ่าไทยใหญ่
ชนเผ่าจีน
ชนเผ่าม้ง
ชนเผ่าลีซอ
ชนเผ่าลัวะ


ประเพณีชนเผ่าอาข่า

จะจัดขึ้นช่วงเดือน เมษายน,สิงหาคม-กันยายน,ตุลาคม ประเพณี ขึ่มสึ,ขึ่มมี๊,อาแผ่ว ความหมาย ประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือ ปีใหม่ชนไข่แดง(ไข่แดง) ประเพณีโล้ชิงช้า ความหมาย ประเพณีโล้ชิงช้าเป็นพิธีการที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการ ส่งเสริมความรู้ แล้วยังเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอาข่า ประเพณี ยอพนนองหมื่อเช้เออ (กินข้าวใหม่) คือ การกำหนดฤทธิ์วันดีของชุมชน เพื่อจะให้ สมาชิกในชุมชนสามารถที่จะประกอบพิธีกินข้าวใหม่หรือเก็บเมล็ดพันธ์ข้าว

  


ประเพณีลาหู่
ประเพณีชนเผ่าลาหู่จะจัดขึ้นช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ประเพณี เขาะเจ๊าเว (ปีใหม่ลาหู่) คือ พิธีฉลองปีใหม่ลาหู่ (มูเซอ) เป็นปีใหม่การกิจวอ ไม่มีการ กำหนดเฉพาะเจาะจงแน่นอน จะเลือกเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่อยู่และเสร็จสิ้นภารกิจทำงานไร่ ทำสวน จากการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว จะมีการนำข้าวเหนียวนึ่งมาตำเสร็จแล้วจะปั้นเป็นก้อนกลม (ข้าวปุ๊ก) มีการฆ่าหมูดำ เพื่อมาเซ่นไหว้ต่อเทพเจ้า “อื่อชา” ซึ่งลาหู่นับถือมาก

  



ประเพณีไทยใหญ่
ประเพณีชนเผ่าไทยใหญ่จะจัดขึ้นช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม และมีนาคม-เมษายน ประเพณีปีใหม่ไต (ไทใหญ่) คือ ประเพณีการจัดงานรื่นเริงในเทศกาลปีใหม่ของชาวไต หรือไทใหญ่ ได้เริ่มต้นมาพร้อมความเป็นชุมชนของชาวไต จะมีการถวายสิ่งของแด่พระสงฆ์ ขอขมาท่านผู้ใหญ่ รวมถึงมอบของขวัญให้แก่กันและกัน และจะมีการแสดงการละเล่น การเต้นรำเป็นต้น ของชาวไตในวันงานปีใหม่

  
  

 


ประเพณีปอยส่างลอง (งานบวชลูกแก้ว) คือ การทำบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เพื่อตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาที่ให้กำเนิด ถือเป็นการทำบุญที่บุตรกระทำให้แก่บิดามารดา แล้วท่านได้อนิสงค์มาก เชื่อกันว่าบิดามารดาจะได้เกาะชายผ้าเหลืองชึ้นสวรรค์หลังจากที่สิ้นลม หายใจไปแล้ว


ประเพณีเผ่าจีน
ประเพณีชนเผ่าจีนจะจัดขึ้นช่วงเดือน มกราคม กันยายน-ตุลาคม และ สิงหาคม วันตรุษจีน (ปีใหม่จีน) คือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนถือเป็นเทศกาลใหญ่ที่ประหนึ่งรวมเทศกาล ตรุษจีนและอาจรวมเทศกาล ไหว้สิ้นปีเข้ากับเทศกาลตรุษจีน จะมีการเซ่นไหว้ของคาวหวาน หมู เป็ด ไก่ ฯลฯ เป็นต้น แก่เจ้าที่และเทพเจ้าต่างๆที่คอยปกป้องคุ้มครองคนให้ครอบครัวให้อยู่ ร่วมเย็นเป็นสุขมาตลอดทั้งปี

  
  

เทศกาลกินเจ คือ เทศกาลการงดเว้นจาการรับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ทุกชนิดหรือ “การไม่กินเนื้อสัตว์” หรือการถือศีลกินเจนั้นเอง นอกจากจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้วยังต้อง ดำรงตนอยู่ใน ศีลธรรมอันดี บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรม เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัวและก่อให้เกิดสันติสุขแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ประเพณี วันไหว้พระจันทร์ คือ ประเพณีการตั้งโต๊ะจัดของสักการบูชารพระจันทร์ เพื่อเป็นการ ขอพรให้กับครอบครัวและให้กับชีวิตของตนเอง ของแต่ละอย่างบนโต๊ะจะมีความหมายต่างๆ กัน ไปแต่ที่ขาดไม่ได้คือ ขนมไหว้พระจันทร์


ประเพณีเผ่าม้ง
ประเพณีม้งจะจัดขึ้นช่วงเดือนธันวาคม,ตุลาคม ประเพณี น่อเป๊จ่าวฮ์ (ปีใหม่ม้ง) คือ ประเพณีขี้นปีใหม่หรือฉลองปีใหม่ ซึ่งเป็นงานรื่นเริงของ ชาวม้งของทุกๆปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึง ความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึง ผีฟ้า ผีป่า ผีบ้าน ที่ให้ความ คุ้มครอง และดูแลความสำราญตลอดทั้งปี ประเพณีกินข้าวใหม่ คือ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อ ว่าจะต้องเลี้ยงผีปู่ – ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องปลูกข้าว ใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู่-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ประเพณี จุเป๊าะ (การละเล่นลูกช่วง) คือ การละเล่นเพื่อฉลองปีใหม่โดยเฉพาะ ลูกช่วงมีลักษณะ เหมือนลูกบอลทำด้วยเศษผ้า มีขนาดเล็กพอที่จะถือข้างเดียวได้ โดยจะแบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น สองฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย แล้วจะโยนลูกช่วงให้กันไปมาและสามารถสนทนากับคู่ที่โยนได้

  
  

ประเพณีชนเผ่าลีซู
ประเพณีชนเผ่าลีซู (ลีซอ) จะจัดขึ้นช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
ประเพณี โข่เซยี่ย (ปีใหม่ลีซู) คือ เป็นวันที่สำคัญมากสำหรับชาวลีซอ(ลีซู) เพราะเชื่อว่าเป็นวัน
เริ่มต้นสำหรับชีวิตและสิ่งใหม่ๆ ให้สิ่งเก่าๆที่ไม่ดีหมดไปพร้อมกับปีเก่า จึงต้องมีการเฉลิมฉลอง
ด้วยการทำพิธีกรรม และจัดงานรื่นเริง เช่น การทำบุญศาลเจ้า และเทพเจ้าต่างๆ ของชาวลีซอ
การขอศีลขอพรจากเทพเจ้า และผู้อาวุโส การร้องเพลง การเล่นดนตรีและการเต้นรำ เป็นต้น



ประเพณีพิธีกรรมซ่อมแซม คือ เป็นการซ่อมแซมศาลเจ้าประจำหมู่บ้านที่เป็นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจของ
ชนชาวลีซอ จะมีการซ่อมแซมศาลเจ้าที่เก่าและผุพังจากปีที่แล้วให้มีสภาพที่ดีขึ้น เพื่อให้ท่านได้
ปกป้องคุ้มครองให้ตนและครอบอยู่ร่มเย็นเป็นสุข


ประเพณีชนเผ่าลัวะ
ประเพณีชนเผ่าลัวะ จะจัดขึ้นช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี
ประเพณีผีตาโขน คือ คาดกันว่าจะมีมารและปีศาสร้ายทั้งหลายจะมาทำร้ายพระศพของ
พระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ จึงได้ให้คนแต่งตัวเป็นผีมาเฝ้าศพของพระองค์เอาไว้ เพื่อไม่ให้มาร
และปีศาจร้ายทั้งหลายเลห่านั้นเห็นว่ามีผีสางเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารักษาพระศพของ
พระพุทธองค์ไว้ จะได้ไม่กล้ามาทำอะไร 
ชาวเขาเผ่าลัวะมีความเชื่อว่าถ้าหากใช้ลิตรที่ทำด้วยเสาตุง นำมาตวงข้าวสารแล้วจะทำให้ไม่
สิ้นเปลือง และจะทำให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์อีกด้วย นอกจากนั้น ยังป้องกันโรคระบาดของ
สัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็ด หมู ไก่ วัว ควาย ได้อีกด้วย ประเพณีผีตาโขนของเผ่าลัวะนี้ได้สืบทอดและ
รักษากันมาตั้งแต่โบราณกาลเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน


เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น